|
|
|
ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ปลูกข้าว และปลูกไม้กฤษณาบางส่วน อาชีพรองลงมาจะเป็นอาชีพรับจ้าง |
|
|
|
|
|
ตำบลบุฝ้าย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา
และที่ราบ มีความลาดชันเล็กน้อย เหมาะกับการทำสวน
และปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น |
|
|
|
|
|
มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว เป็นเขต
ร้อนชื้น ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม |
|
|
|
|
|
|
|
ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบุฝ้าย
นับถือศาสนาพุทธ มีวัดจำนวน 9 แห่ง |
|
วัดบุฝ้าย |
หมู่ 1 |
|
วัดนาแขม |
หมู่ 3 |
|
วัดโคกสว่าง |
หมู่ 4 |
|
วัดบ้านหว้าน |
หมู่ 6 |
|
วัดตะคร้อวนาราม |
หมู่ 8 |
|
วัดบ้านด่าน |
หมู่ 10 |
|
วัดขิงกระชาย |
หมู่ 13 |
|
สำนักสงฆ์สวนป่าเฉลิมพระเกรียรติ บ้านนามูล-หนองโกน |
หมู่ที่ 2 |
|
สำนักสงฆ์สวนป่าปริวาสบุฝ้าย |
หมู่ที่ 1 |
|
|
|
ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม |
|
|
 |
|
|
|
ประเพณีและงานประจำ |
|
ในพื้นที่มีประเพณีและงานประจำปีที่หลากหลาย เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีวันเข้าพรรษา ประเพณีวันออกพรรษา |
|
งานประจำปี เช่น งานบุญผะหวดหรืองานบุญเทศน์มหาชาติ ข้าวพันก้อน บุญประสาทผึ้ง บุญกลางบ้าน |
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น |
|
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การจักสานไม้ไผ่ต่าง ๆ ตะกร้า เข่ง ซุ่มไก่ กระดง บันได การใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาการป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ |
|
ภาษาถิ่น คือ ภาษาลาว |
|
|
|
|
|
|
โรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่ จำนวน 4 แห่ง ดังนี้ |
|
โรงเรียนวัดบุฝ้าย |
|
โรงเรียนบ้านโคกสว่าง (ขยายโอกาส) |
|
โรงเรียนบ้านว่านบ้านด่าน (ขยายโอกาส) |
|
โรงเรียนวัดขิงกระชาย |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้ |
|
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.บุฝ้าย |
ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 1 แห่ง |
|
|
|
|
|
|
|
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุฝ้าย จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 |
|
|
|
|
|
มีอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทุกหมู่บ้าน
เพื่อดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน |
|
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลบุฝ้าย มีถนนสายหลักคือ
ถนนลาดยางขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ตัดผ่าน
ภายในตำบล จำนวน 1 สาย คือ สายท่าโพธิ์-เนินเป้า และยังมีถนนลาดยางที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน และระหว่างตำบล ภายในหมู่บ้านเป็นถนนดินลูกรัง
และถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก |
|
|
|
|
|